เพิ่มสินค้าสำเร็จ!
ไม่สามารถเพิ่มสินค้าได้!
สาระน่ารู้ข่าวสาร

โรคไส้กลวงดำของผักกาดหัว

ลักษณะอาการ

         ใบจะแสดงอาการเหี่ยวเฉา หรือแตกใบเล็กกว่าปกติ จำนวนใบน้อย มีลักษณะแคระแกร็น เนื้อเยื่อภายในลำต้น ราก และหัว มีลักษณะฟ่าม หยาบ กลวง และมีสีดำ เนื่องจากเชื้อแบคทีเรียสาเหตุโรคเน่าเละจะเข้าทำลายซ้ำ หัวผักกาดจะมีขนาดเล็ก ไม่ได้มาตรฐาน คุณภาพเนื้อไม่ดี เนื้อฟ่าม ผิวหยาบ ขรุขระ มีรอยแตกตามขวาง เมื่อผ่าดูจะมีลักษณะกลวงดำ ถ้าเชื้อแบคทีเรียเข้าทำลายซ้ำมาก จะทำให้หัวผักกาดเน่าอย่างรวดเร็ว

สาเหตุของอาการไส้กลวง ของผักกาดหัว

         เกิดจากการขาดธาตุโบรอน พบได้ดินที่มีการชะล้างสูง มีการสูญเสียธาตุอาหารได้ง่าย หรือดินที่เป็นกรดหรือเป็นด่างจัด จะทำให้ธาตุอาหารตกตะกอนและถูกตรึงในดิน ไม่สามารถปลดปล่อยให้พืชนำไปใช้ในการเจริญเติบโตได้

         ธาตุโบรอนเป็นหนึ่งในธาตุอาหารที่มีบทบาทสำคัญต่อความแข็งแรงของเนื้อเยื่อและผนังเซลล์พืช เมื่อขาดจะทำให้เนื้อเยื่อและผนังเซลล์ไม่แข็งแรง ทำให้เกิดรอยแตก ทำให้เชื้อแบคทีเรียสาเหตุโรคเน่าเละเข้าทำลายได้ง่าย เมื่อเชื้อเข้าทำลายจะทำให้ผักเกิดอาการเน่าตายในที่สุด

แนวทางในการป้องกันกำจัด

1. ตรวจวัดค่าความเป็นกรดด่างของดิน ดินที่เหมาะสมในการปลูกผักกาดหัว คือ pH 6.0-7

2. ช่วงเตรียมดินและคุมวัชพืชก่อนปลูก แนะนำ ยูโอนิกซ์ 300 ซีซี + ซีโต้ 1 ลิตร ต่อน้ำ 200 ลิตร ฉีดพ่นดิน จะช่วยคุมวัชพืชก่อนปลูกพร้อมปรับสภาพดิน แก้ปัญหาดินกรด

3. หว่านรองพื้นด้วยปุ๋ยทางดิน แนะนำ ปุ๋ยยูโอนิกซ์ 30-9-6 หรือ ปุ๋ยยูโอนิกซ์ 18-18-18 อัตรา 10-15 กิโลกรัมต่อไร่ ใช้แล้วดินดี ดินโปร่งร่วนซุย ดินไม่  เป็นกรด

4. ฉีดพ่นธาตุอาหารแคลเซียมและโบรอนเป็นประจำ เพื่อให้พืชแข็งแรงอยู่เสมอ แนะนำ แคลเคลียร์ 300 ซีซี หรือ นีโอ-ไฮแคล300 ซีซี ต่อน้ำ 200 ลิตร ทุก 7-10 วัน ตลอดอายุผัก

5. ป้องกันกำจัดโรค แนะนำ ไมโครบลูคอป 200 กรัม หรือ มิลล่า 300 ซีซี ต่อน้ำ 200 ลิตร

สอบถามเพิ่มเติม ได้ที่ สำนักงานยูนิไลฟ์ทุกสาขาทั่วประเทศ หรือ ยูนิไลฟ์ สำนักงานใหญ่ โทรศัพท์ 02-399-5555 หรือ ไอดีไลน์ @unilife

ที่มาข้อมูล: สำนักส่งเสริมและฝึกอบรม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, ธาตุอาหารพืช รศ.ดร.ยงยุทธ โอสถสภา



วิธีสั่งของออนไลน์