เพิ่มสินค้าสำเร็จ!
ไม่สามารถเพิ่มสินค้าได้!
สาระน่ารู้ข่าวสาร

โรคใบจุดสีน้ำตาล

สาเหตุ เชื้อรา Bipolaris oryzae (Helminthosporium oryzae Breda de Haan.)

ลักษณะอาการ

     พบมากในระยะแตกกอ แผลมีลักษณะเป็นจุดสีน้ำตาล รูปกลมหรือรูปไข่ ขอบนอกสุดของแผลมีสีเหลือง บางครั้งพบแผลไม่เป็นวงกลมหรือรูปไข่ แต่จะเป็นรอยเปื้อนคล้ายสนิมกระจัดกระจายทั่วไปบนใบข้าว แผลยังสามารถเกิดบนเมล็ดข้าวเปลือก ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของโรคเมล็ดด่าง แผลจะปกคลุมเมล็ดข้าวเปลือก ทำให้เมล็ดข้าวเปลือกสกปรก เสื่อมคุณภาพ เมื่อนำไปสีข้าวสารจะหักง่าย การแพร่ระบาด เกิดจากสปอร์ของเชื้อราปลิวไปตามลม และติดไปกับเมล็ดพันธุ์

การป้องกันกำจัด

1. ใช้พันธุ์ต้านทานที่เหมาะสมกับสภาพท้องที่ เช่น ภาคกลางใช้พันธุ์ปทุมธานี 1 ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ใช้พันธุ์เหนียวสันป่าตอง และหางยี 71

2. ปรับปรุงดินโดยการไถกลบฟาง หรือเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ดินโดยการปลูกพืชปุ๋ยสด หรือปลูกพืชหมุนเวียนเพื่อช่วยลดความรุนแรงของโรค

3. คลุกเมล็ดพันธุ์ก่อนปลูกด้วยสารป้องกันกำจัดเชื้อรา เช่น คาร์เบนดาซิม + แมนโคเซบ อัตรา 3 กรัม / เมล็ด 1 กิโลกรัม

4. ใส่ปุ๋ย ปุ๋ยยูโอนิกซ์9-9-29 อัตรา 5 กิโลกรัม / ไร่ ช่วยทำให้ข้าวเป็นโรคน้อยลง

5. หากพบอาการของโรคใบจุดสีน้ำตาล 10 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ใบ ในระยะข้าวแตกกอ หรือในระยะที่ต้นข้าวตั้งท้องใกล้ออกรวง หรือพบอาการใบจุดสีน้ำตาลที่ใบธงในสภาพฝนตกต่อเนื่อง หรือมีหมอกน้ำค้างทำให้ความชื้นสูง ควรพ่นด้วยสาร บิซโทร 300-400 กรัม หรือ เบนเอฟ 200 ซีซี หรือ รัสโซล 100-150 ซีซี หรือ แอพโพช 100 ซีซี หรือ อินดีฟ 100-150 ซีซี ต่อน้ำ 200 ลิตร และเสริมความแข็งแรงของต้นข้าว โดยใช้ นีโอ-ไฟต์ 300 ซีซี + นีโอ-ไฮแคล 200 ซีซี ต่อน้ำ 200 ลิตร ด้วยทุกครั้ง

สอบถามเพิ่มเติม ได้ที่ สำนักงานยูนิไลฟ์ทุกสาขาทั่วประเทศ หรือ ยูนิไลฟ์ สำนักงานใหญ่ โทรศัพท์ 02-399-5555 หรือ ไอดีไลน์ @unilife



วิธีสั่งของออนไลน์