เพิ่มสินค้าสำเร็จ!
ไม่สามารถเพิ่มสินค้าได้!
สาระน่ารู้ข่าวสาร

โรคใบขาวในอ้อย

    โรคใบขาวของอ้อย เกิดจากเชื้อไฟโตพลาสมา ซึ่งเป็นเชื้อที่ต้องเจริญเติบโตอยู่ในต้นอ้อยหรือในแมลงพาหะเท่านั้น ด้วยเทคโนโลยีปัจจุบันยังไม่สามารถแยกเชื้อออกจากต้นอ้อยได้ ประหนึ่งว่า อ้อยเป็นโรคใบขาว เทียบเป็นโรคเอดส์ของอ้อย ยังไม่มีสารเคมีชนิดใดสามารถรักษาอ้อยที่แสดงอาการของโรคใบขาวให้หายได้

     สามารถพบอาการของโรคได้ในอ้อยทุกระยะ แต่มักพบมากในระยะแตกกอ โดยอาการเริ่มแรก ใบจะมีสีขาวตามแนวยาวของเส้นกลางใบ จากนั้นใบจะกลายเป็นเส้นสีขาวหรือสีเหลืองสลับสีเขียวขนานไปตามเส้นกลางใบ แล้วลุกลามจนเกิดทั่วทั้งใบ ลำต้นแคระแกร็น ไม่เจริญเติบโตเป็นลำที่สมบูรณ์ หากอาการรุนแรงใบจะขาวทั้งกอและแห้งตาย นอกจากนี้จะพบอาการร่วมกับการแตกกอฝอย จะมีลักษณะคล้ายหญ้า แต่ใบเป็นสีขาว ไม่พัฒนาเป็นลำ และแห้งตายในที่สุด

      แมลงพาหะของโรคใบขาวในอ้อยมี 2 ชนิด คือ เพลี้ยจักจั่นลายจุดสีน้ำตาลและเพลี้ยจักจั่นหลังขาว โดยเพลี้ยทั้งสองชนิดนี้ดูดกินน้ำเลี้ยงอ้อยเป็นหลักเพื่อการเจริญเติบโต และวางไข่ในดิน ชอบวางไข่ในดินทรายหรือดินร่วนทรายมากกว่าดินชนิดอื่น โดยในระหว่างที่เพลี้ยดูดกินน้ำเลี้ยงจากอ้อยจะเกิดการถ่ายเชื้อไฟโตพลาสมาที่เป็นสาเหตุของโรคต่อไปเรื่อยๆ จนลุกลามทั่วทั้งแปลงได้

แนวทางป้องกันกำจัด

1.ใช้ส่วนขยายพันธุ์ที่ปราศจากโรค

2. เฝ้าระวังการระบาดของแมลงพาหะ คือ เพลี้ยจักจั่นลายจุดสีน้ำตาล และ เพลี้ยจักจั่นหลังขาว

3. ขุดทำลายต้นที่เป็นโรคเผาทำลายทิ้งนอกแปลง เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งสะสมเชื้อในแปลง

4. หากพบแมลงในปริมาณมาก ใช้ อะวอร์ด40SC ร่วมกับ เท็นสตาร์ หรือ ฟิพเปอร์ หรือ ฟินิช หรือ ไซปรอย35 ฉีดพ่นกำจัด

สอบถามเพิ่มเติม ได้ที่ สำนักงานยูนิไลฟ์ทุกสาขาทั่วประเทศ หรือ ยูนิไลฟ์ สำนักงานใหญ่ โทรศัพท์ 02-399-5555 หรือ ไอดีไลน์ @unilife

ที่มา : ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายเขต 3 สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย

        : สำนักงานเกษตรและสหกรณ์ จังหวัดปัตตานี



วิธีสั่งของออนไลน์