เพิ่มสินค้าสำเร็จ!
ไม่สามารถเพิ่มสินค้าได้!
สาระน่ารู้ข่าวสาร

โรคแอนแทรคโนสในมะม่วง

ลักษณะอาการ

     โรคนี้ เกิดจากเชื้อรา Colletotrichum gloeosporioides Penz. ปัญหาหลังการเก็บเกี่ยวที่สำคัญของมะม่วงคือโรคแอนแทรคโนส ซึ่งเข้าทำลายได้ทุกระยะการเจริญเติบโต ได้แก่ ระยะต้นกล้า ต้นโต ระยะแทงช่อดอกและระยะติดผล จะแสดงอาการเมื่อสภาพอากาศมีความชื้นสูง โดยเชื้อราจะเจริญและเข้าทำลายส่วนอ่อนของพืช ทำให้ใบเป็นจุดแผลสีน้ำตาลรูปร่างไม่แน่นอน ใบแห้งบิดเบี้ยวเสียรูปทรง ช่อดอกไหม้ดำ ดอกหลุดร่วง

     ส่วนที่เสียหายเป็นประจำและแสดงอาการเด่นชัด มักจะพบในระยะหลังเก็บเกี่ยว โดยเชื้อจะเข้าไปอาศัยแฝงตัวตั้งแต่ระยะดอกบาน ดอกตูม ระยะผลอ่อน โดยเฉพาะในระยะที่ผลสุกงอม เส้นใยเชื้อราจะเจริญอยู่บริเวณช่องว่างระหว่างเซลล์ลึกลงไป 2-3 ชั้นของเซลล์ผิวและพักตัวอยู่แบบแฝง จนกระทั่งผลเริ่มสุกจึงเข้าทำลาย  เกิดแผลจุดดำบนผล เมื่อจุดดำขยายตัวใหญ่ขึ้นเนื้อเยื่อผลจะยุบตัวลง สร้างกลุ่มสปอร์สีส้มหรือสีส้มปนชมพูบริเวณกลางแผล โรคนี้เกิดโรครุนแรงกับมะม่วงหลายสายพันธุ์ ได้แก่ พันธุ์น้ำดอกไม้ พันธุ์แรด และพันธุ์อกร่อง เกิดความเสียหายอย่างมากต่อการผลิตมะม่วงเพื่อการส่งออก

การแพร่ระบาด

    สปอร์เชื้อราสามารถแพร่ระบาดโดยลมและฝน โดยเฉพาะในสภาพอากาศที่ชื้นสลับกับอุณหภูมิสูงและมีความแห้งแล้ง รวมทั้งแปลงที่แน่นทึบความชื้นสูง

 

อาการที่ใบ

 

อาการที่ช่อดอก

 

อาการที่ผล

แนวทางการป้องกันรักษา

  1. ตัดแต่งกิ่งและทรงพุ่มให้โปร่ง เพื่อให้แสงแดดส่องถึง ลดความชื้น ลดการสะสมของเชื้อ
  2. ตัดส่วนที่เป็นโรคทำลายทิ้งนอกแปลง
  3. ใช้สารเคมีป้องกันกำจัด
    3.1 ควรป้องกันตั้งแต่แตกใบอ่อน  ออกช่ออ่อน  ผลอ่อน   ก่อนผลสุก โดยใช้ บิซโทร 400 กรัม หรือ เบนเอฟ 200 ซีซี หรือ รัสโซล 200 ซีซี ต่อน้ำ 200 ลิตร
    3.2 หากพบอาการ หรือฉีดพ่นสารในช่วงมีดอกมีผลอ่อน ใช้ แซสซี่ 100 ซีซี หรือ อินดีฟ 100 ซีซี หรือ คลอโรทาโลนิล+อะซอกซีสโตรบิน เอสซี 200-300 ซีซี ต่อน้ำ 200 ลิตร  ซึ่งมีความปลอดภัยต่อดอกและผลอ่อน

สอบถามเพิ่มเติม ได้ที่ สำนักงานยูนิไลฟ์ทุกสาขาทั่วประเทศ หรือ ยูนิไลฟ์ สำนักงานใหญ่ โทรศัพท์ 02-399-5555 หรือ ไอดีไลน์ @unilife



วิธีสั่งของออนไลน์