เพิ่มสินค้าสำเร็จ!
ไม่สามารถเพิ่มสินค้าได้!
สาระน่ารู้ข่าวสาร

“โรคแคงเกอร์” ในพืชตระกูลส้ม มะนาว

“โรคแคงเกอร์” เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Xanthomonas campestris pv. citri

สามารถเกิดได้ง่ายและรุนแรง ในสภาพอากาศที่ร้อนชื้น อุณหภูมิประมาณ 20-30 องศา
เซลเซียส และระยะที่มีหนอนชอนใบส้มเข้าทำลาย นอกจากนี้ก็แพร่กระจายได้ตามกระแสลม น้ำค้าง ฝน
แมลง และ มนุษย์ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการเคลื่อนย้ายกิ่งที่มีโรคโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ จากแหล่งหนึ่งไปยัง
สถานที่อื่นๆ เป็นระยะทางไกลๆได้ ช่วงที่ระบาดมากจะเป็นช่วงเดือนพฤษภาคม – กันยายน
 
ลักษณะอาการของโรค
ราก พบในกรณีที่ปลูกเชื้อทดลองปลูก โดยเกิดกับส่วนรากที่อยู่เหนือดิน ทำให้ต้นทรุด 
โทรม แคระแกร็น กิ่งตาย ใบร่วง ผลผลิตลดลงและตายในที่สุด
      
 
กิ่งก้าน พบบริเวณกิ่งอ่อน ระยะแรกแผลมีสีเหลืองนูนฟูคล้ายแผลที่เกิดบนใบต่อมาแผลจะขยาย ออกโดยรอบกิ่ง 
 
       
      
 
 ใบ ระยะเริ่มแรกจะเห็นเป็นจุดขนาดประมาณหัวเข็มหมุดมองเห็นได้ไม่ชัด ลักษณะเป็นจุดกลม ใส โปร่งแสง
ใส โปร่งแสง ชุ่มน้ำ และมีสีซีดกว่าใบปกติ เมื่อเวลาผ่านไปแผลจะขยายใหญ่ขึ้น สีคล้ำขึ้น มีลักษณะนูน
และ ฟูคล้ายฟองน้ำ จากระยะเริ่มแรกที่แผลมีสีขาว หรือเหลืองอ่อนก็เปลี่ยนกลายเป็นสีน้ำตาลเข้ม ส่วนที่นูน
และฟูคล้ายฟองน้ำก็จะแยกออกเป็นสะเก็ดขรุขระคล้ายเปลือกไม้แตก มีรอยบุ๋มเล็กน้อยตรงกลาง และมีวง
สีเหลืองซีดล้อมรอบรอยแผล
 
     
 
ผล มีลักษณะอาการคล้ายกับที่พบที่ใบ แผลที่เกิดเดี่ยวๆมีลักษณะกลม บริเวณรอบแผลดูคล้ายกับฝัง
ลึกลงไปในผิวของผล แผลจะนูน และปรุโปร่งคล้ายฟองน้ำ แต่มีสีเหลือง แข็ง และเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเมื่อ
แผลแก่ บางครั้งแผลจะรวมกันมีขนาดใหญ่เป็นสะเก็ด รูปร่างไม่ แน่นอน ซึ่งเมื่อหลุดจะมียางไหลออกมา
จากแผลได้ เกิดความเสียหายกับผลมะนาว ขายไม่ได้ราคา
 
       
การป้องกันกำจัด
1. หมั่นคอยดูแลและตรวจแปลงอย่างสม่ำเสมอโดยเฉพาะในช่วงที่กำลังแตกใบอ่อน หรือติดผลอ่อน
    ต้องคอยระวังแมลงที่เป็นพาหะเช่น หนอนชอนใบ จะเข้ามาทำลายให้เกิดแผล
2. ใช้ ไมโครบลูคอป 200 กรัม ต่อน้ำ 200 ลิตร ฉีดพ่น 1-2 ครั้ง ห่างกัน 7-10 วัน ในช่วงที่มีใบอ่อน
     และติดผลอ่อน
 
      
 

สอบถามเพิ่มเติม ได้ที่ สำนักงานยูนิไลฟ์ทุกสาขาทั่วประเทศ หรือ ยูนิไลฟ์ สำนักงานใหญ่ โทรศัพท์ 02-399-5555 หรือ ไอดีไลน์ @unilife



วิธีสั่งของออนไลน์