เพิ่มสินค้าสำเร็จ!
ไม่สามารถเพิ่มสินค้าได้!
สาระน่ารู้ข่าวสาร

โรคเหี่ยวสับปะรด

        เกิดจากเชื้อไวรัส ซึ่งมีความสัมพันธ์กับเพลี้ยแป้ง เชื้อไวรัส ความรุนแรงของโรคจะเกิดกับสับปะรดพันธุ์
ปัตตาเวีย มีความอ่อนแอต่อไวรัสโรคเหี่ยวมากที่สุด สร้างความเสียหายรุนแรงในแหล่งปลูกทั่วประเทศ ส่วน
กลุ่มอื่นๆ จะต้านทานโรคนี้ได้ดีกว่าจึงไม่ค่อยแสดงอาการของโรค
 
ลักษณะอาการ
 
          อาการแรกนั้นเกิดกับระบบรากก่อน โดยรากจะชะงักการเจริญเติบโต และเซลล์รากจะตาย ซึ่งต่อมา
เนื้อเยื่อส่วนรากจะเน่า แล้วสับปะรดจะแสดงอาการทางส่วนปลายใบและตัวใบในเวลาต่อมา คือใบจะอ่อนนิ่ม
มีเขียวอ่อน หรือสีเหลืองอ่อน ปลายใบแห้งเป็นสีน้ำตาลจนถึงสีแดงลามสู่โคนใบ ใบลู่ลง แผ่แบนไม่ตั้งขึ้น
เหมือนใบปกติ
 
        
 
ต่อมาต้นเหี่ยวและแห้ง รากสั้นกุด ถอนต้นง่าย การทำลายเริ่มตั้งแต่ปลูกจนถึงเก็บเกี่ยวทั้งในแปลงต้นปลูกและ
แปลงต้นตอ แสดงอาการเด่นชัดหลังการบังคับดอก ผลสับปะรดจะไม่พัฒนา มีขนาดเล็ก ทำให้คุณภาพและ
ผลผลิตเสียหายมาก ไม่สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้
 
          
 
การแพร่ระบาด การะบาดอย่างรวดเร็วของโรคเหี่ยวสับปะรดนี้ เป็นเพราะมีการแพร่ระบาดของแมลงพาหะ
คือเพลี้ยแป้งที่มีนิสัยการดูดกินน้ำเลี้ยงจากต้นสับปะรด ที่เป็นโรคเหี่ยวตายสู่ต้นที่ปกติในรูปแบบการกระจายตัว
แบบวงกลมมีการขยายจากจุดกลาง (ต้นเกิดโรค) แล้วค่อยๆลุกลามไปเรื่อยๆโดยมีมดซึ่งเป็นตัวการนำเพลี้ยแป้ง
สู่ต้นอื่นๆ ขณะที่บางช่วงอายุเพลี้ยแป้งจะสร้างปีกบินได้จึงสามารถอพยพสู่ต้นสับปะรดอื่นๆได้เช่นกัน
 
          
 
การป้องกันกำจัด
 
           1. ใช้การเขตกรรม คือการทำความสะอาดแปลงปลูก โดยการไถกลบซากวัชพืชให้หมดโดยเร็วที่สุด
             เพื่อทำลายตัวแก่ และแมลงพาหะ
           2. ตรวจสอบดูแปลงสับปะรด หากพบต้นที่แสดงอาการของโรคต้องรีบเก็บเผาทำลายทันที
             สำหรับสับปะรด ที่เป็นโรคแล้ว ควรพ่นป้องกันการระบาดและลุกลามด้วย ซีวิว 300 ซีซี + นีโอ-ไฟต์ 300 ซีซี +
             เมทาแลกซิล 300 กรัม ร่วมกับสารกำจัดแมลง เท็นสตาร์ 100 ซีซี หรือ ฟิพเปอร์ 300 ซีซี ต่อน้ำ 200 ลิตร
             ใช้ได้ ในทุกระยะของสับปะรด
 
       
 
           3. กำจัดแหล่งวัชพืชข้างเคียง เพื่อทำลายพืชอาศัย ซึ่งเพลี้ยแป้งใช้เป็นแหล่งอาหาร
           4. อุปกรณ์เครื่องมือ รถแทรกเตอร์ ฯลฯ ต้องทำความสะอาดและตรวจสอบการติดมาของเพลี้ยแป้ง
           5. หน่อพันธุ์ จุก ต้องได้จากแหล่งที่ปลอดโรค และใช้สารป้องกันและกำจัดก่อนปลูก
 
                 
 
         โดยใช้ ซีวิว 300 ซีซี + เมทาแลกซิล 300 กรัม+ไอมิด้า 20 กรัม ต่อน้ำ 200 ลิตร ผสมน้ำ ฉีดใส่หน่อหรือจุก พอ
         ให้น้ำไหลเข้ากาบ แล้วค่อยยกไปปลูก และควรทำอีกครั้งก่อนใส่ปุ๋ยบูมดอก หากพบอาการของโรค
 
สอบถามเพิ่มเติม ได้ที่ สำนักงานยูนิไลฟ์ทุกสาขาทั่วประเทศ หรือ ยูนิไลฟ์ สำนักงานใหญ่ โทรศัพท์ 02-399-5555 หรือ ไอดีไลน์ @unilife


วิธีสั่งของออนไลน์