เพิ่มสินค้าสำเร็จ!
ไม่สามารถเพิ่มสินค้าได้!
สาระน่ารู้ข่าวสาร

โรคหัวเน่าในมันสำปะหลัง

   โรคหัวเน่าในมันสำปะหลัง เกิดจากเชื้อราหลายชนิด เช่น Phytophthora spp., Fusarium spp., Diplodia spp., Pyhthim spp. และ Sclerotium rolfsii สามารถเข้าทำลายได้ในทุกระยะของการเจริญเติบโต มักเกิดในดินที่มีการระบายน้ำยาก เนื่องจากอยู่ใกล้แหล่งน้ำหรือมีชั้นดินดานอยู่ใต้ดิน หรือปลูกบนพื้นราบโดยไม่ยกร่องปลูก นอกจากนี้ ดินมีอินทรียวัตถุมากเกินไปอย่างเช่นป่าเปิดใหม่และอยู่ในสภาพที่มีฝนตกชุกมากเกินไป โรคนี้ทำให้ผลผลิตลดลง 80%

   การแพร่กระจายของเชื้อสาเหตุ จะอาศัยน้ำเป็นตัวพา หากเกิดในต้นที่ยังเล็กอยู่จะทำให้รากเป็นรอยช้ำสีน้ำตาล โดย ระบบรากเสียหาย การดูดน้ำดูดอาหารมีปัญหา ใบเหี่ยว เหลือง และร่วง ถ้าเกิดอย่างรุนแรงต้นจะแห้งตายได้ หากเกิดในช่วงเป็นหัวจะทำให้หัวเน่าอย่างรวดเร็วและมีกลิ่นเหม็น บางครั้งพบเส้นใยเชื้อราสีขาวขึ้นปกคลุม โรคหัวเน่าที่พบในประเทศไทยมี 3 ประเภท คือ โรคหัวเน่าเละ โรคหัวเน่าแห้ง และโรคหัวเน่าคอดิน

การป้องกันและกำจัด

1. ก่อนปลูก ควรเก็บเศษเหง้าหรือเศษซากมันสำปะหลังเผาทำลายทิ้ง

2. ควรมีการไถตากดินกำจัดเชื้อโรคอย่างน้อย 2 สัปดาห์ และควรยกร่องปลูกเพื่อช่วยระบายน้ำในช่วงฤดูฝน ป้องกันน้ำขังรากในพื้นที่ปลูก

3. ใช้ท่อนพันธุ์ที่ปราศจากเชื้อ และแช่ท่อนพันธุ์เพื่อป้องกันกำจัดเชื้อโรค เพลี้ยแป้งเพลี้ยหอยที่มักติดมากับท่อนพันธุ์ พร้อมกระตุ้นการแตกราก แนะนำ คัพเวอร์กรีน 50 ซีซี + เมทาแลกซิล 300 กรัม + เท็นสตาร์ 100 ซีซี (หรือ ไอมิด้า 16 กรัม) + ซีวิว 300 ซีซี ต่อน้ำ 200 ลิตร

4. เมื่อเกิดการระบาดในระหว่างการปลูก แนะนำให้ป้องกันกำจัดโรค พร้อมกระตุ้นให้พืชทนโรคด้วย ซับลา 300 กรัม หรือ ชีคไบท์ 300 ซีซี หรือ เมทาแลกซิล 300 กรัม โดยใช้ร่วมกับ นีโอ-ไฟต์ 300 ซีซี ต่อน้ำ 200 ลิตร

5. ในพื้นที่ดินที่มีระบาดของโรคนี้มาก่อน ควรปลูกพืชหมุนเวียนประเภทธัญพืชอย่างเช่น ข้าวและอ้อย เพื่อตัดวงจรของเชื้อโรคนี้อย่างน้อย 1 ปี

 

สอบถามเพิ่มเติม ได้ที่ สำนักงานยูนิไลฟ์ทุกสาขาทั่วประเทศ หรือ ยูนิไลฟ์ สำนักงานใหญ่ โทรศัพท์ 02-399-5555 หรือ ไอดีไลน์ @unilife

ที่มา : กลุ่มพยากรณ์และเตือนการระบาดศัตรูพืช กรมส่งเสริมการเกษตร, สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร



วิธีสั่งของออนไลน์