แหนแดง เป็นพืชตระกูลเฟิร์นชนิดลอยน้ำ เจริญเติบโตลอยอยู่บนผิวน้ำในที่ที่มีน้ำขังในเขตร้อน
และเขตอบอุ่น ต้นแหนแดง ประกอบด้วยส่วนต่างๆ คือ ลำต้น ราก และใบ แหนแดงมีกิ่งแยกจากลำต้น ใบ
ของแหนแดงเกิดตามกิ่งเรียงสลับกันไป ใบแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือใบบนและใบล่าง มีขนาดใกล้เคียงกัน
ใบล่างค่อนข้างโปร่งใส มีคลอโรฟิลล์น้อยมาก ใบบนเป็นสีเขียวมีคลอโรฟิลล์เป็นองค์ประกอบ
กรมวิชาการเกษตร ได้ทำการวิจัยค้นคว้า เรื่องแหนแดง มาตั้งแต่ ปี 2520 ช่วงเวลาดังกล่าวกรมได้
ร่วมมือกับสถาบันวิจัยข้าวนานาชาติ (IRRI) ส่งเสริมให้มีการใช้แหนแดงเป็นปุ๋ยพืชสดในนาข้าวทั่วไปใน
แถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ ประเทศเวียดนาม ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย ไทย และสาธารณรัฐประชาชน
จีน ซึ่งความจริงประเทศจีนได้มีการใช้แหนแดงในนาข้าวก่อนประเทศอื่นๆ เป็นเวลาเกือบ 100 ปีแล้ว
แหนแดง มีอยู่มากมายหลายสายพันธุ์ทั่วโลกมีประมาณ 7 สายพันธุ์ แต่ที่เหมาะสำหรับประเทศไทย
มีอยู่ 2 สายพันธุ์ คือ สายพันธุ์ อะซอลล่า พินนาต้า (Azolla pinnata) ซึ่งเป็นสายพันธุ์ดั้งเดิมในประเทศไทย
กับสายพันธุ์ อะซอลล่า ไมโครฟิลล่า (Azolla microphylla) ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่กรมวิชาการเกษตรนำเข้ามา
เพื่อคัดพันธุ์
การนำแหนแดงไปใช้
แหนแดง ถ้าจะใส่ในนาข้าว เกษตรกรควรนำไปหว่าน 2 ช่วง ด้วยกัน ช่วงแรก หว่านแหนแดงก่อน
ตีเทือก เพื่อให้แหนแดงไปเพาะขยายในท้องนา ประมาณ 20 วัน แล้วไถกลบ เมื่อแหนแดงย่อยสลายก็จะเริ่ม
ปลดปล่อยไนโตรเจนออกมา ดังนั้น เมื่อตีเทือกเสร็จก็หว่านข้าวหรือดำนาได้เลย อีกช่วงหนึ่งถ้าเป็นนาดำ
ให้ดำนาไปก่อน แล้วหว่านแหนแดงลงไปในนา แหนแดงจะไปขยายพันธุ์เต็มท้องนา เพราะนาดำมีลักษณะ
เป็นบ่อน้ำตื้น ประโยชน์คือ แหนแดงจะช่วยบดบังแสงแดด ป้องกันไม่ให้วัชพืช ข้าววัชพืช ข้าวลีบ หรือข้าว
ดีด ที่ติดมากับรถเกี่ยวข้าว ตกค้างอยู่ในนา เจริญเติบโตขึ้นมาในนาข้าว
นอกจากนั้น ยังมีรายงานผลการทดสอบภายใต้โครงการความร่วมมือระหว่างประเทศของ
สถาบันวิจัยข้าวนานาชาติว่า การเลี้ยงแหนแดงในนาแล้วไถกลบก่อนปักดำ สามารถเพิ่มผลผลิตได้ทัดเทียม
กับการใส่ปุ๋ยยูเรีย อัตรา 4.8 กิโลกรัม/ไร่ และการเลี้ยงแหนแดงหลังปักดำก็ให้ผลผลิตทำนองเดียวกัน หรือ
การไถกลบทั้ง 2 วิธี ร่วมกันก็สามารถเพิ่มผลผลิตข้าวเปลือกได้ โดยเฉลี่ย 160 กิโลกรัม/ไร่ นอกจากนี้แหน
แดงยังมีโปรตีน ไขมัน เซลลูโลส และแร่ธาตุต่างๆ เป็นส่วนประกอบจำนวนมาก จึงเหมาะสมที่จะใช้เป็น
อาหารสัตว์ได้เป็นอย่างดี จากการวิเคราะห์พบว่า กรดอะมิโนที่จำเป็นในแหนแดงมีปริมาณสูงเพียงพอต่อ
การเจริญเติบโตของปลา จึงเหมาะสมที่จะใช้เลี้ยงปลา โดยเฉพาะการเลี้ยงปลาในนาข้าวที่มีแหนแดงอยู่ด้วย
สามารถทำให้น้ำหนักของปลาและขนาดของปลาเพิ่มขึ้นมากกว่าปลาที่เลี้ยงในนาข้าวโดยไม่มีแหนแดงร่วม
ด้วย
รู้แบบนี้แล้ว จะรอช้ากันอยู่ใย ถ้าท่านใดที่สนใจก็ลองเอามาทดลองขยายพันธุ์ และนำไปใช้ตาม
คำแนะนำกันได้เลยนะค่ะ…ยูนิไลฟ์ใส่ใจชีวิตเกษตรกร