เพิ่มสินค้าสำเร็จ!
ไม่สามารถเพิ่มสินค้าได้!
สาระน่ารู้ข่าวสาร

เตือนภัย…หนอนเจาะผลทุเรียน

ชื่อวิทยาศาสตร์ Conogethes  punctiferalis (Guenee)

รูปร่างลักษณะ

ผีเสื้อตัวเต็มวัยของหนอนเจาะผลทุเรียนเมื่อกางปีกมีขนาดกว้างประมาณ 2.3 เซนติเมตรปีกทั้งสองคู่มีสีเหลืองและมีจุดสีดำกระจายอยู่ทั่วปีก  วางไข่ไว้ภายนอกผลทุเรียนบริเวณที่ผลอยู่ติดกัน    ระยะไข่ 4 วัน   หนอนมีสีขาว  หัวสีน้ำตาลจะแทะกินผิวเปลือกทุเรียนก่อนเมื่อโตขึ้นจะเจาะกินเข้าไปในผล     ตัวหนอนมีลักษณะสีน้ำตาลอ่อนและมีจุดสีน้ำตาลเข้มประอยู่บริเวณหลังตลอดลำตัว      หนอนเจริญเต็มที่มีขนาดยาวประมาณ 1.5-1.8 เซนติเมตร   และจะเข้าดักแด้อยู่ระหว่างหนามของผลทุเรียน    โดยมีใยและมูลของหนอนหุ้ม    แมลงชนิดนี้พบทั่วไปตลอดทั้งปีเนื่องจากมีพืชอาศัยกว้าง   จะพบแมลงชนิดนี้เข้าทำลายในระยะที่ทุเรียนติดผลถึงระยะเก็บเกี่ยว

ลักษณะอาการและการทำลาย

หนอนเจาะผลจะเข้าทำลายทุเรียนตั้งแต่ผลยังเล็กอายุประมาณ2 เดือน ไปจนถึงผลใหญ่ทำให้ผลเน่าและร่วงเนื่องจากเชื้อราเข้าทำลายซ้ำ  ผลที่มีรอยแมลงทำลายทำให้ขายไม่ได้ราคา ถ้าหากหนอนเจาะกินเข้าไปจนถึงเนื้อจะทำให้บริเวณดังกล่าวเน่าเมื่อผลสุก  ภายนอกผลทุเรียนจะสังเกตเห็นมูลและรังของหนอนได้อย่างชัดเจนและจะมีน้ำไหลเยิ้ม  เมื่อทุเรียนใกล้แก่หนอน  จะเข้าทำลายผลทุเรียนที่อยู่ติดกันมากกว่าผลที่อยู่เดี่ยว ๆ เพราะหนอนที่พึ่งฟักออกจากไข่ชอบอาศัยที่รอยสัมผัสนี้

 

ศัตรูธรรมชาติ

แตนเบียน Apanteles sp.

การป้องกันและกำจัด

  1. หมั่นตรวจดูตามผลทุเรียนเมื่อพบรอยทำลายของหนอนให้ใช้ไม้หรือลวดแข็งเขี่ยตัวหนอนออกมาทำลายทิ้ง

  2. ผลทุเรียนที่เน่าและร่วงเพราะถูกหนอนทำลายควรเก็บทำลายโดยเผาไฟหรือฝัง
  3. ตัดแต่งผลทุเรียนที่มีจานวนมากเกินไป   โดยเฉพาะผลที่อยู่ติดกันควรใช้กาบมะพร้าวหรือกิ่งไม้กั้นระหว่างผล   เพื่อป้องกันไม่ให้ตัวเต็มวัยวางไข่หรือตัวหนอนเข้าหลบอาศัย

  4. ห่อผลด้วยถุงพลาสติกสีขาวขุ่นเจาะรูที่บริเวณขอบล่างเพื่อให้หยดน้าระบายออก โดยเริ่มห่อผลตั้งแต่ผลทุเรียนมีอายุ 6 สัปดาห์เป็นต้นไป  จะช่วยลดความเสียหายได้

วิธีป้องกันกำจัดที่ยูนิไลฟ์แนะนำ

 

เพิ่มเติม    เพื่อประสิทธิภาพที่ดีกว่าควรใช้  คัพเวอร์กรีน ใส่ก่อนผสมสารเคมีทุกครั้ง

ที่มา : http://www.doa.go.th/hrc/chantaburi/images/files/insect_du.pdf



วิธีสั่งของออนไลน์