เพิ่มสินค้าสำเร็จ!
ไม่สามารถเพิ่มสินค้าได้!
สาระน่ารู้ข่าวสาร

เตือนชาวนา ระวัง! โรคใบไหม้ข้าว

โรคใบไหม้  ทำลายข้าวได้ทุกระยะ ตั้งแต่เริ่มปลูกจนถึงเก็บเกี่ยวโรคไหม้จะเกิดขึ้นและแพร่ระบาดได้รุนแรง ถ้ามีสิ่งแวดล้อมไม่เหมาะสม คือ
 
  • พันธุ์ข้าวอ่อนแอต่อโรค เช่น ขาวตาแห้ง, กข6, ข้าวหอมมะลิ105 และบางสายพันธุ์ เช่น สุพรรณบุรี1, สุพรรณบุรี60 และชัยนาท เป็นต้น
  • ความชื้นค่อนข้างสูง ตั้งแต่ 90% ขึ้นไป โดยเฉพาะในช่วงบ่ายถึงเช้าวันรุ่งขึ้น
  • อุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการระบาดคือ ระหว่าง 25-30 องศาเซลเซียส
  • หว่านข้าวหนาแน่น และใช้ปุ๋ยไนโตรเจนสูง
  •  

     

    ลักษณะอาการของโรค
         ระยะกล้า ใบมีแผลจุดสีน้ำตาล คล้ายรูปตา มีสีเทาอยู่ตรงกลางแผล มีขนาดแตกต่างไป จุดแผลนี้สามารถขยายลุกลามจนแผลรวมกันทั่วบริเวณใบ ในกรณีที่โรครุนแรงกล้าข้าวจะแห้งและฟุบตาย อาการคล้ายถูกไฟไหม้ (blast)
        ระยะแตกกอ อาการของโรคพบได้ที่ใบ กาบใบ ข้อต่อของใบและข้อต่อของลำต้นขนาดของแผลจะใหญ่กว่าที่พบในระยะกล้าแผลลุกลามติดต่อกันได้ที่บริเวณ ข้อต่อใบจะมีลักษณะแผลช้ำสีน้ำตาลดำ และใบมักหลุดจากกาบใบเสมอ
       ระยะคอรวง ใถ้าข้าวจะเริ่มให้รวง เมื่อถูกเชื้อรานี้เข้าทำลาย เมล็ดจะลีบหมด แต่ถ้าเป็นโรคตอนรวงข้าวแก่ใกล้เก็บเกี่ยว คอรวงจะปรากฏรอยแผลช้ำเป็นสีน้ำตาล ทำให้เปราะหักพับง่าย รวงข้าวร่วงหล่นเสียหายมาก หากระบาดรุนแรงแผลจะลุกลามติดต่อกันบนใบ
     

     

    การป้องกันกำจัด

        1.เลือกใช้พันธุ์ให้เหมาะสม ปัจจุบันพันธุ์ที่ค่อนข้างต้านทานโรค ได้แก่ กข1, กข9, กข11, กข21, สุพรรณบุรี1 และ คลองหลวง 1

        2.ใช้สารเคมีฉีดพ่น

         การป้องกัน ใช้ รัสโซล 10 ซีซี หรือ แอพโพช 15 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร

         การรักษา ใช้ แซสซี่ 10 ซีซี หรือ ไอโซโพรไทโอเลน 20 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร

     

     

     


    
    วิธีสั่งของออนไลน์