หนอนกระทู้ผัก Spodoptera litura (Fabricius)ตัวเต็มวัยเป็นผีเสื้อกลางคืนขนาดเล็ก กลางวันจะเกาะนิ่งบริเวณใต้ใบพืช เริ่มออกหากิน ผสมพันธุ์ และวางไข่เป็นกลุ่มๆใต้ใบพืชเวลากลางคืน ตัวเมียหนึ่งตัวจะวางไข่ได้ประมาณ 2,000-4,000 ฟอง ในเวลาประมาณ 5-7 วัน ลักษณะไข่ปกคลุมด้วยขนสีน้ำตาลอ่อนหรือสีฟางข้าว (ไข่ 3-4 วัน)
เมื่อหนอนวัยแรกฝักออกจากไข่จะอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม ตัวสีเขียวอมเหลือง หัวสีดำ แทะกินผิวใบพืช หากถูกรบกวนจะทิ้งตัวลงที่ต่ำ หนอนวัย 2-4 จะเริ่มแยกตัวออกจากกลุ่มเพื่อออกหากิน กระจายตัวทำลายพืชทั่วทั้งแปลง หนอนวัย 5 จะโตเร็วมาก ตัวเปลี่ยนเป็นสีเทา และมีแถบสีดำพาดตามยาว ระยะนี้หนอนจะซ่อนตัวในเวลากลางวัน และหากินในเวลากลางคืน หนอนวัย 6 เป็นวัยสุดท้าย ลักษณะอ้วนกลม กินจุ กัดกินใบพืชอย่างรวดเร็ว กัดกินทั้งใบ ก้าน ดอก และผล สร้างความเสียหายได้มาก (หนอน 10-15 วัน) จากนั้นจะเข้าดักแด้โดยใช้ดินทำรัง ระยะดักแด้ประมาณ (ดักแด้ 7-10 วัน) จึงฟักเป็นตัวเต็มวัย (ตัวเต็มวัย 5-10 วัน) และพบการระบาดได้ตลอดทั้งปี
ลักษณะไข่
หนอนอยู่รวมกันเป็นกลุ่มในระยะแรก
เมื่อหนอนโตเต็มที่ จะกระจายตัวทั่วแปลงกัดกินทำลายพืชปลูก
นอกจากนี้ยังเข้าทำลายพืชได้อีกหลายชนิด ได้แก่ ผักคะน้า ตระกูลกะหล่ำ ผักกาดขาวปลี ผักกาดเขียวปลี ผักกาดหัว หอมแดง หอมหัวใหญ่ หน่อไม้ฝรั่ง กระเจี๊ยบเขียว องุ่น ข้าวโพด ถั่วเหลือง กุหลาบ ดาวเรือง กล้วยไม้ เป็นต้น
สภาพใบเสียหายจากหนอนเข้าทำลาย
หนอนทิ้งตัวเมื่อถูกรบกวน
การป้องกันกำจัด
- ควรไถตากดิน เก็บเศษซากพืชเพื่อกำจัดดักแด้ เก็บกลุ่มไข่และหนอนทำลายทิ้งนอกแปลง ลดการระบาด แหล่งสะสมและขยายพันธุ์
- เมื่อเริ่มพบตัวเต็มวัย ป้องกันด้วย วอเดอร์ 20 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร ช่วยคุมไข่ ทำให้ตัวเต็มวัยวางไข่น้อยลง
- ใช้สารกำจัดแมลง เมื่อเริ่มพบหนอนเข้าทำลาย แนะนำ คอลลิ่ง 20 ซีซี หรือ ฟิพเปอร์ 30 ซีซี หรือ ไฮ-นิว20 30 ซีซี ร่วมกับ วอเดอร์ 20 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร จะช่วยยับยั้งการลอกคราบของหนอน ตัดวงจรชีวิต ลดการระบาดของแมลงในกลุ่มหนอนโดยเฉพาะ
- พ่นซ้ำตามการระบาด ควรพ่นเมื่อหนอนมีขนาดเล็ก หากมีการระบาดมากให้ใช้สารในอัตราสูงขึ้นและเพิ่มช่วงการพ่นให้ถี่ขึ้น ควรพ่นสลับกลุ่มสาร (พ่นแต่ละกลุ่มสารติดต่อกันไม่เกิน 2-3 ครั้ง) เพื่อหลีกเลี่ยงการดื้อยาของหนอน
แหล่งข้อมูล : การจัดการแมลง-ไร ศัตรูพริกที่สำคัญ (สวพ. กรมวิชาการเกษตร)
: สำนักงานเกษตรและสหกรณ์ จังหวัดอ่างทอง
: ฐานข้อมูลพันธุกรรมพืช
สอบถามเพิ่มเติม ได้ที่ สำนักงานยูนิไลฟ์ทุกสาขาทั่วประเทศ หรือ ยูนิไลฟ์ สำนักงานใหญ่ โทรศัพท์ 02-399-5555 หรือ ไอดีไลน์ @unilife