เพิ่มสินค้าสำเร็จ!
ไม่สามารถเพิ่มสินค้าได้!
สาระน่ารู้ข่าวสาร

ระวัง! โรคเหี่ยว สับปะรด

    โรคเหี่ยวของสับปะรด เกิดจากเชื้อไวรัส ซึ่งมีความสัมพันธ์กับ “เพลี้ยแป้ง” ความรุนแรงของโรคจะเกิดกับสับปะรดพันธุ์ปัตตาเวีย คือ มีความอ่อนแอต่อไวรัสโรคเหี่ยวมากที่สุด สร้างความเสียหายรุนแรงในแหล่งปลูกทั่วประเทศ  ส่วนสับปะรดพันธุ์อื่นๆ จะต้านทานโรคนี้ได้ดีกว่า จึงไม่ค่อยจะแสดงอาการของโรค
 

  

   

    โดยอาการเริ่มแรกนั้นจะเกิดกับระบบรากก่อน โดยรากจะไม่มีการสร้างเซลส์ส่วนปลายรากชะงักการเจริญเติบโต และเซลล์รากจะตาย ซึ่งต่อมาเนื้อเยื่อส่วนรากจะเน่า (Rotting) แล้วสับปะรดจะแสดงอาการทางส่วนปลายใบและตัวใบในเวลาต่อมา

 

   

    การแพร่ระบาด การะบาดอย่างรวดเร็วของโรคเหี่ยวเฉาตายของสับปะรดนี้ เป็นเพราะมีการแพร่ระบาดของแมลงพาหะ คือ เพลี้ยแป้ง ที่มีนิสัยการดูดกินน้ำเลี้ยงจากต้นสับปะรดที่เป็นโรคเหี่ยวตาย สู่ต้นที่ปกติในรูปแบบ ที่มีการกระจายตัวแบบวงกลม มีการขยายจากจุดกลาง (ต้นเกิดโรค) แล้วค่อยๆ ลุกลามไปเรื่อยๆ โดยมีมดเป็นตัวนำเพลี้ยแป้งให้แพร่กระจายสู่ต้นอื่นๆ

 

การป้องกันกำจัด

  • การตรวจสอบดูแปลงสับปะรด หากพบต้นที่แสดงอาการของโรคต้องรีบเก็บเผาทำลายทันที
  • สำหรับสับปะรดที่เป็นโรคแล้ว ควรพ่นป้องกันการระบาดและลุกลามด้วย ซีวิว 300 ซีซี + นีโอไฟต์ 300 ซีซี + เมทาแลกซิล 300 กรัม และใช้ร่วมกับสารกำจัดแมลง เท็นสตาร์ 100 ซีซี หรือ ฟิพเปอร์ 300 ซีซี ต่อน้ำ 200 ลิตร ใช้ได้ทุกระยะของสับปะรด
  • กำจัดแหล่งวัชพืชข้างเคียงเพื่อทำลายพืชอาศัย (host plant) ซึ่งเพลี้ยแป้งใช้เป็นแหล่งอาหาร
  • อุปกรณ์เครื่องมือ รถแทรกเตอร์ ฯลฯ ต้องทำความสะอาดและตรวจสอบการติดมาของเพลี้ยแป้ง
  • หน่อพันธุ์ จุก ต้องได้จากแหล่งที่ปลอดโรค และทำการจุ่มสารเคมีป้องกันและกำจัดก่อนปลูก
  •  
     

     

     


    
    วิธีสั่งของออนไลน์