เพิ่มสินค้าสำเร็จ!
ไม่สามารถเพิ่มสินค้าได้!
สาระน่ารู้ข่าวสาร

ฝนตกบ่อย ระวังโรคแคงเกอร์มะนาว

โรคแคงเกอร์ เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Xanthomonas campestris pv. Citri โรคนี้ได้ง่ายและรุนแรงมากในสภาพอากาศที่ร้อนชื้น อุณหภูมิประมาณ 20-30 องศาเซลเซียส หรือการเกิดบาดแผลจากหนอนชอนใบทำให้เชื้อสาเหตุเข้าทำลายได้ง่าย โดยเชื้อสามารถแพร่กระจายได้ตามกระแสลม น้ำค้าง ฝน แมลง และมนุษย์ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการเคลื่อนย้ายกิ่งที่มีโรคโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ จากแหล่งหนึ่งไปยังสถานที่อื่น เป็นระยะทางไกลๆได้ ระบาดในช่วงเดือนพฤษภาคม – กันยายน

ลักษณะอาการ

      อาการเกิดได้ทั้งที่ใบ ก้านใบ กิ่ง ลำต้น และผล อาการบนใบ ระยะเริ่มแรกจะเห็นเป็นจุดขนาดประมาณหัวเข็มหมุดมองเห็นไม่ชัด ลักษณะเป็นจุดกลมใส โปร่งแสง เป็นจุดฉ่ำน้ำ และแผลจะขยายใหญ่ขึ้น เริ่มแรกแผลมีสีขาวหรือสีเหลืองอ่อน ต่อมาจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเข้มขึ้น แผลจะมีลักษณะนูนและฟูคล้ายฟองน้ำ ส่วนกลางแผลจะแตกออกเป็นสะเก็ดขรุขระคล้ายเปลือกไม้แตก และมีวงสีเหลืองซีดล้อมรอบรอยแผล

       อาการบนกิ่งและลำต้น จะพบเป็นแผลตกสะเก็ดนูนขึ้น มีสีน้ำตาล บริเวณแผลอาจจะแตกจนทำให้เกิดอาการยางไหล ลุกลามไปยังใบ ทำให้ใบหลุดร่วงและกิ่งแห้งตายได้

        อาการบนผล มีอาการคล้ายกับบนใบ โดยแผลที่เกิดเดี่ยวๆ จะมีลักษณะกลม บริเวณรอบแผลดูคล้ายกับฝังลึกลงไปในผิวของผล แผลจะนูน เริ่มต้นแผลมีสีเหลืองและเริ่มเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล ถ้าเป็นมากแผลจะรวมกันจนมีขนาดใหญ่ มีแผลเป็นสะเก็ด รูปร่างไม่แน่นอน ซึ่งเมื่อสะเก็ดหลุดจะมียางไหลออกมาจากแผล ถ้าเป็นมากจะทำให้เปลือกแตก ผลแตก ผลร่วงได้ ทำให้เกิดความเสียหายกับผลมะนาว ขายไม่ได้ราคา

การป้องกันกำจัด

1.ตัดแต่งส่วนที่เป็นโรคเผาทำลาย ไม่ขยายพันธุ์จากต้นที่เป็นโรคแคงเกอร์

2.หมั่นดูแลและตรวจแปลงอย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะช่วงที่พืชกำลังแตกใบอ่อนหรือติดผลอ่อน ต้องคอยระวังแมลงที่เป็นพาหะ เช่น หนอนชอนใบ จะเข้ามาทำลายให้เกิดแผล

3.สามารถป้องกันกำจัดด้วยสารเคมี ใช้ ไมโครบลูคอป ฉีดพ่น 1-2 ครั้ง ห่างกัน 7-10 วัน ช่วงที่มีใบอ่อน ติดผลอ่อน

4.สูตรเด็ดป้องกันกำจัดเด็ดขาด ใช้ คัพเวอร์กรีน + ไมโครบลูคอป + เคาท์ดาว + ซีวิว ฉีดพ่นเมื่อเริ่มแตกใบอ่อน และติดผลอ่อน

สอบถามเพิ่มเติม ได้ที่ สำนักงานยูนิไลฟ์ทุกสาขาทั่วประเทศ หรือ ยูนิไลฟ์ สำนักงานใหญ่ โทรศัพท์ 02-399-5555 หรือ ไอดีไลน์ @unilife

ที่มา : กรมส่งเสริมการเกษตร กรมวิชาการเกษตร

        : โรคและแมลงศัตรูพืชที่สำคัญ (พิสุทธิ์ เอกอำนวย)



วิธีสั่งของออนไลน์