เพิ่มสินค้าสำเร็จ!
ไม่สามารถเพิ่มสินค้าได้!
สาระน่ารู้ข่าวสาร

ด้วงแรดในมะพร้าวและปาล์มน้ำมัน

     แมลงสำคัญของพืชสกุลปาล์มน้ำมันทุกชนิด มี 2 ชนิด คือ ด้วงแรดชนิดเล็ก (Oryctes rhinoceros) และด้วงแรดชนิดใหญ่ (Oryctes gnu)  ตัวเต็มวัยเป็นด้วงปีกแข็งสีดำเป็นมันวาว ใต้ท้องสีน้ำตาลแดง ลำตัวกว้าง 2 – 2.3 ซม. ยาว 3 – 5.2 ซม. เพศเมียวางไข่ลึกประมาณ 5-15 ซม. เพศเมียที่ได้รับการผสมพันธุ์แค่ครั้งเดียวสามารถวางไข่ได้นานถึง 130 วัน วางไข่ครั้งละ 10-30 ฟอง (สูงสุด 152 ฟอง) ชอบวางไข่ในที่มีความชื้นพอเหมาะ อุณหภูมิ 20-30 องศาเซลเซียส ไข่กลมรี สีขาวนวล หนอนมีลำตัวสีขาว หัวสีน้ำตาลอ่อน โตเต็มที่ยาว 6 – 9 ซม. เมื่อเข้าดักแด้จะหยุดกินอาหารและสร้างรังเป็นโพรง และหดตัวอยู่ภายใน 5-8 วัน จะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลแดง วงจรชีวิตรวมแล้วใช้เวลา 4-9 เดือน

 

 

ระยะตัวเต็มวัย (90-120 วัน)

 

ระยะไข่ (1-12 วัน)

 

ระยะหนอน (80-150 วัน)

 

ระยะดักแด้ (23-28 วัน)

ลักษณะการเข้าทำลาย

     ตัวเต็มวัยเท่านั้นที่เป็นศัตรูพืช โดยบินขึ้นไปกัดเจาะโคนทางใบมะพร้าวหรือปาล์มน้ำมัน ทำให้ทางใบหักง่าย และกัดเจาะทำลายยอดอ่อน ทำให้ทางใบที่เกิดใหม่ไม่สมบูรณ์ มีรอยขาดแหว่งเป็นริ้วๆ คล้ายรูปสามเหลี่ยม ถ้าโดนทำลายมากใบใหม่จะแคระแกรน รอยแผลที่ถูกด้วงแรดกัดเป็นเนื้อเยื่ออ่อน ทำให้ด้วงงวงมะพร้าวเข้ามาวางไข่ หรือเป็นช่องทางให้โรคยอดเน่าเข้าทำลาย ทำให้ต้นตายได้ในที่สุด

     แพร่กระจายได้ทั่วประเทศ เพิ่มจำนวนได้ตลอดทั้งปี ปริมาณขึ้นกับแหล่งเพาะขยายพันธุ์ ฤดูผสมพันธุ์และวางไข่มากที่สุด ระหว่างเดือน มิ.ย- ก.ค. จะพบความเสียหายระหว่างเดือน พ.ย.-พ.ค.

แหล่งขยายพันธุ์

     บริเวณซากเน่าเปื่อยของลำต้นหรือตอของต้นมะพร้าวและปาล์มน้ำมัน ซากพืชที่เน่าเปื่อย เช่น ซากเปลือกมะพร้าวและทะลายปาล์ม กองมูลสัตว์เก่า กองปุ๋ยคอก กองขุยมะพร้าว กองกากเมล็ดกาแฟ กองขยะ เป็นต้น

การป้องกันกำจัด

  1. กำจัดแหล่งขยายพันธุ์ โดยเผาหรือฝังซากลำต้นและตอของมะพร้าว เกลี่ยกองซากพืช กองมูลสัตว์ให้กระจายออก (สูงไม่เกิน 15 เซนติเมตร) ถ้าจำเป็นต้องทำกองมูลสัตว์นานกว่า 2-3 เดือน ควรหมั่นพลิกกลับกองปุ๋ยหมัก หรือนำใส่ถุงปุ๋ยมัดปากให้แน่นนำไปเรียงซ้อนกัน
  2. หมั่นทำความสะอาดบริเวณคอต้นมะพร้าวหรือปาล์ม ตามโคน ทางใบ หากพบรอยแผลเป็นรู ให้ใช้เหล็กแหลมแทงหาด้วงแรดเพื่อกำจัดทิ้ง
  3. ควบคุมโดยใช้กับดักล่อฟีโรโมน เพื่อล่อจับตัวเต็มวัยและนำมาทำลาย
  4. ใช้สารเคมีป้องกันกำจัด แนะนำ ฟิพเปอร์ 30 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร

แหล่งที่มาข้อมูล: กรมวิชาการเกษตร / กลุ่มอารักขาพืช สำนักงานเกษตรจังหวัดตราด

สอบถามเพิ่มเติม ได้ที่ สำนักงานยูนิไลฟ์ทุกสาขาทั่วประเทศ หรือ ยูนิไลฟ์ สำนักงานใหญ่ โทรศัพท์ 02-399-5555 หรือ ไอดีไลน์ @unilife



วิธีสั่งของออนไลน์