เพิ่มสินค้าสำเร็จ!
ไม่สามารถเพิ่มสินค้าได้!
สาระน่ารู้ข่าวสาร

เตือนภัย…ด้วงงวงมะพร้าว

ด้วงงวงมะพร้าวมี 2 ชนิด ได้แก่ ด้วงงวงมะพร้าวชนิดเล็ก และ ด้วงงวงมะพร้าวชนิดใหญ่ ตัวเต็มวัยเป็นแมลงปีกแข็ง ขนาดเล็กกว่าด้วงแรด ลำตัวสีน้ำตาลแดง ส่วนหัวมีงวงยื่นออกมา เพศเมียจะมีงวงยาวกว่าเพศผู้

การทำลาย

ด้วงงวงมะพร้าวจะขยายพันธุ์อยู่ภายในคอมะพร้าว บางครั้งพบเข้าทำลายที่โคนลำต้น ทำให้ต้นตาย อาการบ่งชี้ที่แสดงว่าด้วงงวงทำลายคือยอดอ่อนเหี่ยวแห้ง ใบเหลืองสอดหักพับ เมื่อพบอาการนี้แล้ว จะไม่สามารถแก้ไขได้ เนื่องจากหนอนด้วงงวงจำนวนมากได้เข้ากัดทำลายภายในจนหมด ตัวเต็มวัยของด้วงงวงจะเข้าวางไข่ที่รอยแผลบริเวณยอด รอยแตกของโคนทางใบ โคนลำต้น หรือรอยแผลที่เกิดจากการตัดทางใบ เป็นต้นไข่จะฟักออกเป็นหนอนกัดกินอยู่ในเนื้อเยื่ออ่อนจนเข้าดักแด้

การแพร่กระจายและฤดูกาลระบาด

ด้วงงวงเล็กเกิดแพร่กระจายทั่วประเทศไทย ปริมาณการระบาดขึ้นอยู่กับเกษตรกรเอง ถ้าเกษตรกรรู้จักดูแลรักษามะพร้าว สังเกตการเปลี่ยนแปลงของมะพร้าวที่ปลูก ถ้าพบด้วงงวงเข้าทำลายก็จะทราบได้ ซึ่งในระยะแรกสามารถป้องกันกำจัดได้ แต่ถ้าเกษตรกรไม่ดูแลความเสียหายก็จะมีมาก อาจเกิดการระบาดทำให้ต้นมะพร้าวตายทั้งสวนได้

การป้องกันกำจัดด้วงงวงมะพร้าว

  1. ป้องกันกำจัดด้วงแรด ไม่ให้ทำลายมะพร้าวเพราะรอยแผลที่ด้วงแรดเจาะจะเป็นช่องทางให้ด้วงงวงเข้ามาวางไข่ และทำลายจนมะพร้าวล้มตายได้
  2. หมั่นดูแลทำความสะอาดบริเวณคอมะพร้าว ถ้าพบรอยแผล รอยเจาะและยอดอ่อนที่ยังไม่เหี่ยว ให้ใช้เหล็กยาวปลายเป็นตะขอแทงเข้าไปเกี่ยวเอาตัวหนอนทำลาย และทาบริเวณรอยดังกล่าวด้วยสารทา ซึ่งเป็นส่วนผสมของน้ำมันเครื่อง1 ลิตร ผสมกับกำมะถันผง 100 กรัม คนให้เข้ากัน เพื่อป้องกันไม่ให้ด้วงงวงเข้าทำลายซ้ำ
  3. รอยแผลที่เกิดจากการตัดทางใบ หรือรอยตัดจั่นมะพร้าวเพื่อทำน้ำตาล รอยแตกที่โคนลำต้นเหล่านี้ควรใช้สารทาร์ทาเพื่อป้องกันการวางไข่
  4. ยูนิไลฟ์ขอแนะนำ   แมมมอท  500  ซีซี  หรือ  ฟิพเปอร์  300  ซีซี  หรือ  เคสโต  300-500  ซีซีต่อน้ำ  200  ลิตร ฉีดใส่คอมะพร้าว 1-2 ครั้งห่างกัน 10 วัน

เพิ่มเติม เพื่อประสิทธิภาพที่ดีกว่าควรใช้ คัพเวอร์กรีน ใส่ก่อนผสมสารเคมีทุกครั้ง



วิธีสั่งของออนไลน์